ครงการแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2563 – 2564
ณ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565
1. ภาพรวมการแข่งขัน

1.1 ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีสถานะเป็นนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรีใน ปีการศึกษา 2564

1.2 การแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระดับปริญญาตรี เป็นการแข่งขันประเภททีม โดยแต่ละทีม

มีสมาชิกได้ไม่เกิน 3 คน โดยแต่ละสถาบันการศึกษาส่งตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหาได้เพียง 1 ทีม

1.3 คำถามที่ใช้ในการแข่งขันจะเป็นคำถามอัตนัย จำนวน 10 ข้อ ข้อละ 10 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนน แบ่งเป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาค 5 ข้อและ เศรษฐศาสตร์มหภาค 5 ข้อ โดยขอบเขตของเนื้อหาจะไม่เกินขั้นกลาง (intermediate) ของระดับปริญญาตรี โดยจะมีเวลาในการทำข้อสอบข้อละ 5นาที

2. การจัดเตรียมคำถามที่ใช้ในการแข่งขัน

คำถามที่ใช้ในการแข่งขันจะมาจากคณาจารย์ของแต่ละสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยก่อนการแข่งขัน คณาจารย์จากทุกสถาบันที่เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงกติกา และเตรียมความพร้อมคำถามที่ใช้ในการแข่งขัน

3. การสุ่มเลือกคำถาม

ตัวแทนสถาบันเจ้าภาพจะเป็นผู้เริ่มต้นจับฉลากคำถามข้อที่ 1 และตัวแทนจากสถาบันการศึกษาที่เป็น
เจ้าของคำถามข้อที่ 1 จะเป็นผู้จับฉลากคำถามข้อที่ 2 และเจ้าของคำถามข้อที่ 2 จะเป็นผู้จับฉลากข้อถัดไป
กระบวนการจับฉลากจะดำเนินไปเรื่อยๆ จนทุกทีมได้ตอบคำถามครบ 10 ข้อ

หมายเหตุ: หากจับฉลากได้คำถามจากสถาบันการศึกษาใด นักศึกษาจากสถาบันการศึกษานั้นจะไม่ได้ตอบคำถามข้อนั้น โดยนักศึกษาที่เว้นคำถามของสถาบันตนเองไป จะต้องตอบคำถามจากการจับฉลากในช่วงท้ายของการแข่งขัน เพื่อให้นักศึกษาจากทุกสถาบันการศึกษาตอบคำถามครบ 10 ข้อเท่ากัน

4. การเฉลยข้อสอบและการตรวจให้คะแนน

4.1 การเฉลยคำถาม: ตัวแทนสถาบันการศึกษาเจ้าของคำถามจะเป็นผู้เฉลย ภายหลังจากหมดเวลาตอบคำถามในแต่ละข้อ โดยใช้เวลาในการเฉลยไม่เกิน 5 นาที
4.2 การตรวจให้คะแนน: คำถามแต่ละข้อจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยแต่ละข้อจะมีผู้ตรวจให้คะแนนจำนวน 3 ท่านได้แก่ 1) ตัวแทนสถาบันการศึกษาเจ้าของคำถามจำนวน 1 ท่าน และ 2) ตัวแทนจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ อีก 2 ท่าน (ตามการตกลงในการประชุมคำถามในช่วงเช้า) ทั้งนี้การให้คะแนนจะเป็นไปตามเกณฑ์การให้คะแนนของตัวแทนสถาบันเจ้าของคำถาม และคะแนนที่แต่ละทีมจะได้รับ คือค่าเฉลี่ยของคะแนนจากผู้ตรวจทั้ง 3 ท่าน

หมายเหตุ:

– หากข้อใดมีคะแนนมีพิสัยเกิน 5 คะแนน ผู้ตรวจทั้ง 3 ท่านจะร่วมพิจารณาคะแนนใหม่อีกครั้ง

– ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับการตอบคำถาม นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้นที่มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ โดยแจ้งทันทีที่เกิดปัญหาต่อทีมงานของสถาบันเจ้าภาพ โดยการตัดสินจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะถือเป็นที่สิ้นสุด

5. เกณฑ์การตัดสินผลการแข่งขัน

5.1 ทีมที่ได้รับคะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรกจะได้รับรางวัลและเกียรติบัตร ดังนี้

– รางวัลชนะเลิศ ได้รับรางวัลและเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับรางวัลและเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับรางวัลและเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้รับเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 4 ได้รับเกียรติบัตร

5.2 ในกรณีที่มีทีมที่ได้คะแนนมากที่สุดมากกว่า 1 ทีม ให้ทีมดังกล่าวตอบคำถามเพิ่มจากข้อสอบที่เหลือจากการจับฉลากในรอบปกติ เพื่อหาทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
5.3 ในกรณีที่ทีมที่ได้คะแนนเท่ากันเป็นลำดับอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลำดับที่ 1 ให้รับรางวัลนั้นๆ ร่วมกัน และข้าม
รางวัลลำดับถัดไป
5.4 ทุกทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะได้รับเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันฯ

6. เนื้อหาสำหรับใช้ในการแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์

ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้เป็นคำถาม จะไม่เกินขั้นกลาง (intermediate) ของระดับปริญญาตรีแบ่งเป็น

เศรษฐศาสตร์จุลภาค:
1. Basic of Supply and Demand
2. Consumer Choice Theory
3. Producer Behavior
4. Competitive Market
5. Imperfect Market
6. Game Theory
7. General Equilibrium and Economic Efficiency
8. Market Failures

หนังสือที่แนะนำ:

Pindyck, R. S., & Rubinfeld, D. L. (2014). Microeconomics. Pearson Education.
Besanko, D., & Braeutigam, R. (2020). Microeconomics. John Wiley & Sons.

เศรษฐศาสตร์มหภาค:
1. Basic concept of Macroeconomics (National income, Gross Domestic Product,
Macroeconomics variables)
2. Short-run closed economy (IS-LM, AD-AS, macroeconomic policy)
3. Short-run open economy (Mundell-Fleming Model, AD-AS, macroeconomic policy)
4. Long-run analysis (Growth model, macroeconomic policy)

5. Other Extensions in the Short-run (Expectations, Policies, Output, Consumption and Investment)

หนังสือที่แนะนำ:
Mankiw, G.N. (2016). Macroeconomics. New York :Worth Publishers,
Froyen, R.T. (2014). Macroeconomics: Theories and Policies. Pearson Indian Ed.

7. กำหนดการ
8. แผนที่
สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55