ข้อมูลของหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี)

ปรัชญา ความสําคัญ ของหลักสูตร
พัฒนาบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ที่ถึงพร้อมด้วยความรู้ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้าง ประสิทธิภาพและความ เป็นธรรมของการจัดสรรทรัพยากร ภายใต้ข้อจํากัดและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี ผ่าน เครื่องมือและข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และทักษะการนําเสนอข้อมูลที่เหมาะสม
ลักษณะและข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร

1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : เศรษฐศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Economics Program

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : เศรษฐศาสตรบัณฑิต
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Economics
ชื่อย่อภาษาไทย : ศ.บ.
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Econ

3. วิชาเอก (ถ้ามี) : ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: จำนวนไม่น้อยกว่า 128 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร
5.1. รูปแบบ

5.1.1. : เป็นหลักสูตรระดับ 2 ปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552

5.1.2. ประเภทของหลักสูตร : ปริญญาตรีทางวิชาการ

5.2. ภาษาที่ใช้ : การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย เอกสารและตำราในวิชาหลักเป็นภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีความรู้และทักษะทางวิชาการในรูปขององค์รวมทางเศรษฐศาสตร์
(2) มีความสามารถในการวิเคราะห์ องค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์
(3) มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดขอบต่อหน้าที่และสังคม
(4) มีทักษะและความชํานาญในการใช้ข้อมูลเครื่องมื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ การสื่อสารและเทคโนโลยี เพื่อให้นําไปประยุกต์ใช้ในการทํางานและการศึกษาต่อได้เป็นอย่างดี
(5) มีไหวพริบและความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ปฎิบัติในงานตามหน้าที่
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานราชการ และสถานประกอบการของเอกชนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเศรษฐศาสตร์ เช่น การทำงานในตำแหน่งต่อไปนี้

1. นักเศรษฐศาสตร์
2. นักวิจัย
3. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
4. นักการเงินการธนาคาร
5. นักวิจัยและวิเคราะห์ในตลาดหลักทรัพย์
6. นักวิเคราะห์การตลาดและกลยุทธ์
7. นักวิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์
8. นักวิเคราะห์ธุรกิจ

*ทั้งนี้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถต่อระดับปริญญาโท ปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

ระบบการจัดการศึกษา
1. ระบบการจัดการศึกษา
1.1 ระบบ : ระบบทวิภาค
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน : ไม่มี
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบ-ทวิภาค: ไม่มี
2. การดาเนินการหลักสูตร
2.1 วัน – เวลาในการดาเนินการเรียนการสอน
– วัน เวลาราชการปกติ
ภาคการศึกษาต้น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤษภาคม
โครงสร้างหลักสูตร

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
1. นิสิตทีมีสิทธิ์ได้รับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังต่อไปนี้
1.1. เรียนรายวิชาต่างๆ ครบตามหลักสูตรและเงื่อนไขของสาขาวิชานั้น และไม่มีรายวิชาใด
ได้รับอักษร I หรืออักษร P
1.2. มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 2.00
1.3. ใช้เวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
1.4. สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา
1.5. ไม่มีพันธะด้านหนี้สินใด ๆ กับมหาวิทยาลัย
2. นิสิตที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้
2.1. เป็นนิสิตภาคการศึกษาสุดท้ายที่ลงทะเบียนเรียนครบตามหลักสูตร
2.2. ผ่านกิจกรรมภาคบังคับ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2.3. ให้นิสิตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุ ไว้ในข้อ 2.1 และ 2.2 ยื่นคำร้องแสดง ความจำนง ขอสำเร็จการศึกษาต่อส่วนทะเบียนและประเมินผล ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติให้ปริญญาในภาคการศึกษานั้น
ดาวน์โหลดเล่มหลักสูตรฉบับเต็ม