About Us

 

Our Story

ประวัติความเป็นมาของภาควิชาเศรษฐศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร 

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปี 2541 ซึ่งขณะนั้นหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ดำเนินการเรียนการสอนภายใต้ภาควิชาพาณิชยศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ในขณะนั้น ภาควิชาที่สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบไปด้วย ภาควิชาภาษา ภาควิชามนุษยศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสาร ภาควิชาสังคมศาสตร์ และภาควิชาพาณิชยศาสตร์ โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ อาคารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยภาควิชาต่างๆ ได้มีการใช้ทรัพยากรการเรียนการสอนร่วมกัน ได้แก่ ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้องๆ ละ 40 เครื่อง ห้องศูนย์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Self-Access) จำนวน 2 ห้อง และห้องสมุดของคณะ

หลักสูตรที่ใช้ในช่วงเวลานั้นคือ หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต พ.ศ.​ 2540 ที่ได้มุ่งเน้นให้นิสิตมีการฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ และตรรกะเหตุผลบนพื้นฐานของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ โดยเน้นการใช้ตำราจากต่างประเทศ ในช่วงระยะเวลานั้น คณาจารย์ได้มีงานวิจัย ที่จะต้องลงพื้นที่เก็บข้อมูลจำนวนมาก ทำให้นิสิตได้ฝึกการลงพื้นที่จริง และได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์จริง ทำให้บัณฑิตในช่วงต้น สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ มาช่วยในการประกอบอาชีพหลังจบการศึกษาได้มาก

Our Story

ต่อมา ในวันที่ 1 ตุลาคม 2546 สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีมติให้ยกเลิกและจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้น โดยรวมภาควิชาพาณิชยศาสตร์ และ ภาควิชาการสื่อสาร จัดตั้งเป็นคณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ พร้อมจัดตั้งภาควิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชานิเทศศาสตร์ และภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการบัญชี

ในปี 2546 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเพิ่มรายวิชาเลือกเอก อาทิ เศรษฐศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ  การเงินส่วนบุคคล เป็นต้น

ต่อมาในปี 2550 ได้มีการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรเศรษฐศาตร์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เป็น “หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง .. 2551″ โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 134 หน่วยกิต โดยมีการนำข้อมูลการเรียนจากนิสิตชั้นปีที่ 2 – 3 ในหลักสูตรก่อนมาร่วมพิจารณา โดยแผนการเรียนในหลักสูตรก่อน ในชั้นปีที่ 1 จะเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไป และจะเริ่มเรียนรายวิชาของเศรษฐศาสตร์ในชั้นปีที่ 2 ทำให้นิสิตในชั้นปีที่ 1 ไม่คุ้นเคยหรือไม่เข้าใจว่าเศรษฐศาสตร์มีเนื้อหาแบบใด

ดังนั้นจึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีการเรียนวิชาเอกเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1  และความคิดเห็นของนิสิตที่ต้องการเรียนวิชาที่มีการคำนวณทุกเทอม เนื่องจากจะทำให้ไม่ลืมเวลาที่นำมาใช้เรียนในวิชาเอกเลือก (ในชั้นปีที่ 3) ดังนั้นจึงทำให้ “หลักสูตรเศรษฐตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง .. 2551″ มีการจัดแผนการเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของนิสิต รวมทั้งปรับลดจำนวนวิชาเอกบังคับเศรษฐศาสตร์ลง แล้วไปเพิ่มรายวิชาเอกเลือกเศรษฐศาสตร์ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในขณะนั้น อาทิ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เป็นต้น

Our Story

ต่อมาในวันที่ 21 สิงหาคม 2555 ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อคณะจาก “คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์” เป็น “คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร” (Business Economics and Communications: BEC) พร้อมกับปรับปรุงกระบวนการบริหารงานใหม่ใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 5 ภาควิชา ประกอบไปด้วย ภาควิชาบริหารธุรกิจ ภาควิชาการท่องเที่ยว ภาควิชาการบัญชี ภาควิชานิเทศศาสตร์ และภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ส่งผลให้ภาควิชามีการดำเนินการเฉพาะหลักสูตรที่คล่องตัวมากยิ่งขึ้น

และภายในปี 2555 ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ปรับเปลี่ยนโยบายโดยมีเป้าหมายที่จะให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยและต้องการที่ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัย TOP 10 ของประเทศไทย จึงทำให้หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ต้องมีการปรับหลักสูตรอีกครั้ง โดยหลัก “สูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรง พ.ศ.2555″ ได้มีการปรับโครงสร้างขนานใหญ่ ดังนี้
1. เพิ่มรายวิชาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี
2. ปรับเปลี่ยนจากการฝึกงานเป็นสหกิจศึกษา
3. ปรับรายวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งเดิมนิสิตสามารถเลือกได้หลายภาษา เป็นเน้นวิชาภาษาอังกฤษภาษาเดียวและจัดให้นิสิตได้เรียนวิชาภาษาอังกฤษทุกเทอม

นอกจากนี้ยังได้ปรับโครงสร้างวิชาเอกบังคับและวิชาเอกเลือกเศรษฐศาสตร์ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยแยกเป็นกลุ่มวิชาด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ภาครัฐ และกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะมากยิ่งขึ้น และมีการปรับแผนการเรียนให้นิสิตเรียนให้จบใน 6 เทอม และในเทอมที่ 7 และ 8 จะเป็นเทอมที่ทำวิทยานิพนธ์ และการสหกิจศึกษา

ในปี 2560 ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ได้มีแนวนโบายที่จะผลักดันให้หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ จึงได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรเดิม ให้เป็น “หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561″ โดยเริ่มการสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เช่น ผู้ประกอบการ นายจ้าง ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และอาจารย์ผู้สอน) ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ ถึงแนวทางการปรับปรุงหลักสูตร เพื่อพัฒนาทักษะบัณฑิตเศรษฐศาสตร์ที่เป็นที่ต้องการของโลกการทำงาน จึงทำให้ได้ข้อสรุปสำหรับการปรับปรุง “หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561″ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตให้บัณฑิตมีคุณลักษณะของ
1. Diversified
2. Integrity
3. Flexibility
โดยลักษณะทั้ง 3 ด้าน เราจะเรียกสั้นๆ ว่า “DIF” และใช้เป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังของหลักสูตร หรือ Expected Learning Outcome (ELO) เพื่อใช้ในการกำหนดโครงสร้างเนื้อหาของวิชาต่างๆ (Course specification)

ซึ่งในการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้ ยังสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยนเรศวรและกรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ซึ่งจะมีผลให้นิสิตที่จะเข้ามาเรียนตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป เข้าสู่รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยแนวทาง Flip Class Room และการใช้ Case Study Base รวมถึง Assignment Base Learning เพื่อสร้างให้บัณฑิตเศรษฐศาสตร์มีคุณสมบัติที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ของโลกการทำงานต่อไป