ข้อมูลของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (ระดับปริญญาเอก)

ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงให้เพียงพอที่จะทำการวิเคราะห์วิจัย มีความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับโลก เน้นการพัฒนาทางการวิจัย (Research–based) ในบริบทตามสถานการณ์จริง (Area-based)
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นหลักสูตรเน้นการวิจัยเชิงลึก (Research based) ระดับแนวหน้า (Frontier Research) ที่มีการนำความรู้พื้นฐานและการการวิเคราะห์เชิงลึกทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการวิจัยเพื่อตอบโจทย์คำถามวิจัยในประเด็นทางเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค
กระบวนการเรียนการสอนของหลักสูตรเน้นการมีความรู้พื้นฐานที่ครอบคลุมในการทำวิจัย การเน้นประสบการณ์ตรงในการทาวิจัย การนำเสนอเผยแพร่ผลงานในเวทีสาธารณะ ฝึกฝนให้เป็นนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ สามารถคิดค้นงานวิจัยได้ด้วยตนเอง มีศักยภาพในการบริหารจัดการงานวิจัยได้
ซึ่งเชื่อว่าสามารถสร้างนักวิจัยชั้นแนวหน้าที่มีคุณภาพในระดับสากล และเป็นส่วนสำคัญในด้านการศึกษา และเศรษฐกิจของประเทศ สามารถประยุกต์ผลงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสามารถใช้องค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
1. มีความรู้ในด้านเศรษฐศาสตร์และระเบียบวิธีวิจัยเพียงพอที่จะทำการวิเคราะห์วิจัยและค้นคว้าวิทยาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ สามารถนำไปบูรณาการกับศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ และสามารถผลิตผลงานทางเศรษฐศาสตร์ที่มีคุณภาพ
2. มีความสามารถค้นคว้าวิจัยด้านเศรษฐกิจภูมิภาคและความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจภูมิภาคกับ ระบบเศรษฐกิจในภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนสามารถที่จะรับหน้าที่ต่างๆ ในระดับสูง เพื่อรับใช้สังคมและประเทศ เช่น เป็นอาจารย์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถปลูกฝังความคิดอย่างมีเหตุผลให้แก่นิสิต ตลอดจนสามารถเป็นวิทยากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ สถิติ ตลอดจนวางแผนในหน่วยงานทั้งในภาคราชการ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว
ลักษณะและข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2561

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์

หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1. รหัสและชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ชื่อภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Economics

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Economics)

ชื่อย่อภาษาไทย : ปร.ด. (เศรษฐศาสตร์)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : Ph.D. (Economics)

3. วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
– ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

5.1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับ 6 ปริญญาเอก ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552

5.2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

5.3 การรับเข้าศึกษา
นิสิตไทยและนิสิตชาวต่างชาติ

5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันฯ ที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สาเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

8.1 อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการเศษฐศาสตร์/นักเศรษฐศาสตร์

8.2 นักวิจัยและนักวิชาการในสถาบันวิจัยและหน่วยงานราชการ

8.3 นักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจและสถิติในธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน

8.4 ผู้บริหารกิจการ เจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญ ในภาครัฐและเอกชน

8.5 ผู้กากับดูแลนโยบายและแผนในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ประเทศและระดับนานาชาติ

ระบบการจัดการศึกษา
ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ 
1. ระบบการจัดการศึกษา
1.1 ระบบ
การจัดการศึกษาระบบทวิภาค โดยข้อกำหนดต่างๆ ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559
1.2 การจัดการเรียนการศึกษาภาคฤดูร้อน
– ไม่มี
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
– ไม่มี
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน – เวลาในการดาเนินการ
ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในวันเวลาราชการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 – 16.30 น. และนอกเวลาราชการ (วันเสาร์ – อาทิตย์ และนอกเวลา ระหว่างเวลา 17.00 – 21.00 น.) ตามความจำเป็นของผู้เรียนและแผนการศึกษาของหลักสูตร และตามที่คณะกรรมการหลักสูตรเห็นชอบ
ภาคการศึกษาต้น เดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย เดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม
โครงสร้างหลักสูตร

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แบบ 1.1
1. ผู้สมัครต้องสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ตามหลักเกณฑ์ของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และของมหาวิทยาลัยนเรศวร
2. ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร
3. มีประสบการณ์ในการทางานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
4. ต้องมีหัวข้อวิทยานิพนธ์ในรูปแบบโครงร่างการวิจัย และอธิบายลักษณะแนวคิดเบื้องต้นในการจัดทำวิทยานิพนธ์ (Concept paper) ความยาวไม่เกิน 10 หน้าของกระดาษ A4 (หรือประมาณ 2,000 – 4,000 คา ไม่รวมรายการอ้างอิง) มายื่นในวันสัมภาษณ์
5. รับผู้สมัครชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยพิจารณาจากใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร ได้แก่ เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาโท ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาเศรษฐศาสตร์ คะแนนภาษาอังกฤษ ผลงานวิจัย บทความ การตีพิมพ์ผลงานในวารสารและประสบการณ์ในการทำงาน พร้อมกับให้แนบผลการสอบภาษาอังกฤษ และมีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 3
6. กรณีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติบางข้อที่ไม่ตรงกับข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
7. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในกรณีความผิดอันได้กระทำโดยความประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
8. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกอันเนื่องมาจากความประพฤติจากสถาบันการศึกษาใด
9. คุณสมบัติไม่ขัดต่อข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 ข้อ 6 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา และประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร
แบบ 2.1
1. ผู้สมัครจะต้องสอบข้อเขียน สอบสัมภาษณ์ตามหลักเกณฑ์ของภาควิชา และของมหาวิทยาลัยนเรศวร
2. ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษารับรอง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร
3. ต้องมีหัวข้อวิทยานิพนธ์ในรูปแบบโครงร่างการวิจัย และอธิบายลักษณะแนวคิดเบื้องต้นในการจัดทำวิทยานิพนธ์ (Concept paper) ความยาวไม่เกิน 10 หน้าของกระดาษ A4 (หรือประมาณ 2,000 – 4,000 คา ไม่รวมรายการอ้างอิง) มายื่นในวันสัมภาษณ์
4. รับผู้สมัครชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยพิจารณาจากใบสมัครและเอกสารประกอบการสมัคร ได้แก่ เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาโท ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาเศรษฐศาสตร์ คะแนนภาษาอังกฤษ ผลงานวิจัย บทความ การตีพิมพ์ผลงานในวารสารและประสบการณ์ในการทำงาน พร้อมกับให้แนบผลการสอบภาษาอังกฤษ และมีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 2
5. กรณีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติบางข้อที่ไม่ตรงกับข้างต้น ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
6. ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในกรณีความผิดอันได้กระทำโดยความประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ
7. ไม่เคยถูกคัดชื่อออกอันเนื่องมาจากความประพฤติจากสถาบันการศึกษาใด
8. คุณสมบัติไม่ขัดต่อข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 ข้อ 6 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา และประกาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร
มาตรฐานผลการเรียนรู้ นิสิตจะได้รับการพัฒนาให้เกิดผลการเรียนรู้ดังนี้
5.2 มาตรฐานผลการเรียนรู้ นิสิตจะได้รับการพัฒนาให้เกิดผลการเรียนรู้ดังนี้
5.2.1 มีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถในการสร้างโครงการวิจัยและดำเนินการวิจัย และมีจรรยาบรรณขั้นสูงในการทาวิทยานิพนธ์ มีความรับผิดชอบในการดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้
5.2.2 สามารถนาความรู้และหลักวิชาและทฤษฎีด้านเศรษฐศาสตร์ที่เรียน วิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางการใช้แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์ไปใช้ในการทำงานเพื่อการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์จนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์สามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาและเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไปและนาไปใช้ประโยชน์ได้จริง
5.2.3 สามารถนาเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ที่มีความโดดเด่น เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เป็นประโยชน์และเป็นองค์ความรู้ใหม่ต่อแวดวงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์
5.2.4 สามารถติดต่อประสานงานกับผู้อื่น ในระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ หรือ การศึกษาด้วยตนเอง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเข้าถึง และขอความร่วมมือจากกลุ่มเป้าหมายของการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูล
5.2.5 มีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศเพื่อการทำวิทยานิพนธ์ อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประมวลผลการทำวิทยานิพนธ์ และการนำเสนอสาระสำคัญในวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559

3.1 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ แบบ 1.1

3.1.1 มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
3.1.2 ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
3.1.3 สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
3.1.4 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
3.1.5 เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่า ซึ่งเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
3.1.6 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย ในวารสารระดับชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือในวารสารระดับนานาชาติใน ISI หรือ SCOPUS อย่างน้อย 2 เรื่อง

3.2 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ แบบ 2.1

3.2.1 มีระยะเวลาการศึกษาตามกำหนด
3.2.2 ลงทะเบียนเรียนครบตามที่หลักสูตรกำหนด
3.2.3 สอบผ่านความรู้ภาษาอังกฤษตามประกาศของมหาวิทยาลัย
3.2.4 ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และเงื่อนไขของสาขาวิชานั้นๆ
3.2.5 มีผลการศึกษาได้ค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ย ไม่ต่ากว่า 3.00
3.2.6 สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
3.2.7 เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่า ซึ่งเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
3.2.8 ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย ในวารสารระดับชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสาหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง หรือในวารสารระดับนานาชาติใน ISI หรือ SCOPUS อย่างน้อย 1 เรื่อง

ดาวน์โหลดเล่มหลักสูตรฉบับเต็ม