About
curriculum design
เกณฑ์การรับเข้า
โดยเกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่อ ป.ตรี TCAS 2563 รอบที่ 1 รับตรงจำนวน 15 คนรับนิสิตสายวิทย์-คณิต หรือ ศิลป์-คณิต โดยจะมีเกณฑ์ขั้นต่ำดังต่อไปนี้
- เกณฑ์การพิจารณาเพื่อรับเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต โดยการยื่นใบสมัคร ผู้สมัครจะมีคุณสมบัติในข้อด้านล่าง ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ เกรดเฉลี่ยสะสม 5 ภาคการศึกษามากกว่า 2.75
- เกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.75 แต่เกรดเฉลี่ยกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์มากกว่า 3
- เกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 2.75 แต่เคยร่วมโครงการด้านเศรษฐศาสตร์ ที่จัดโดยหน่วยงานเศรษฐกิจระดับประเทศหรือมหาวิทยาลัยจัดขึ้น โดยมีประกาศนียบัตรแนบ
ผู้ผ่านเกณฑ์ขั้นต้นจะต้องผ่านการเขียนเรียงความและการสัมภาษณ์ อีกครั้งในวันที่ทำการสัมภาษณ์ เพื่อประกาศผลการคัดเลือกอีกต่อไป
ใช้ระบบ Admission ซึ่งนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2549 โดยนำเอาระบบคะแนนสอบจากข้อสอบกลางของแต่ละรายวิชาของนักเรียน ที่มีการสอบหลายๆ ครั้งมาใช้ในการคัดเลือกร่วมกับเกรดเฉลี่ยของนักเรียน โดยมีรอบโควต้ามหาวิทยาลัย และรอบ Admission กลาง ทำให้นักเรียนต้องวิ่งสอบโควต้าหลายมหาวิทยาลัย จึงได้มีการพัฒนาระบบ TCAS (Thai University Central Admission System) ซึ่งจัดรอบการรับ 5 รอบ และมีเกณฑ์ที่หลากหลายและสอดคล้องกับความสามารถและความสนใจของนักเรียนมากยิ่งขึ้น เปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความสามารถหลากหลายได้เข้าสู่การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีเกณฑ์รอบที่ 1 ซึ่งภาควิชาได้กำหนดเกณฑ์ความสามารถที่สอดคล้องกับการพัฒนาต่อไปสู่ DIF ด้วยพื้นฐานคณิตศาสตร์และความสนใจในการศึกษาต่อด้านเศรษฐศาสตร์ด้วยการร่วมกิจกรรมเหล่านี้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา (อธิบายในกรอบที่ 1) ในขณะที่รอบที่ 2 – รอบที่ 5 ทางภาควิชาได้มีการกำหนดสัดส่วนคะแนนสอบ PAT ด้านคณิตศาสตร์ในการเกณฑ์ที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการคัดกรองขั้นต้น ในขณะเดียวกันในกระบวนการสอบสัมภาษณ์กรรมการสอบจะทำหน้าที่ชี้แจงวิธีการเรียนการสอนการใช้คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษในการเรียนรวมถึงเกณฑ์การประเมินเพื่อให้นักเรียนผู้ประสงค์จะศึกษาต่อในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์สามารถประเมินตนเองในเบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจที่จะศึกษาต่อ ในขณะเดียวกันภายใต้นโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะให้นิสิตที่ไม่สามารถเรียนในคณะหรือหลักสูตรอื่นในมหาวิทยาลัยสามารถโอนย้ายหน่วยกิตมาเรียนในหลักสูตรที่ตนเองคิดว่าถนัดและสนใจส่งผลให้หลักสูตรเศรษฐศาสตร์มีนิสิตย้ายเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้นรวมถึงการย้ายออกไปเรียนในหลักสูตรอื่นบางส่วนโดยกระบวนการรับเข้าจะกำหนดเกรดขั้นต่ำ 2.00 ในการย้ายเพื่อเรียนในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์และจะต้องมีการสัมภาษณ์โดยอาจารย์ที่ปรึกษาหรือประธานหลักสูตรหรือหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อให้มั่นใจได้ว่านิสิตจะสามารถเรียนจนจบการศึกษาได้ตามเป้าหมาย
กระบวนการเรียนการสอนของหลักสูตรตามกรอบ DIF
ภาควิชาได้มีการประชุมอาจารย์ผู้ทำการสอนในแต่ละรายวิชาโดยมีการจัดการเรียนการสอนและมอบหมายให้อาจารย์แต่ละท่านพิจารณารายวิชาที่ตนเองสนใจถนัดและมีการวิจัยในเรื่องเหล่านั้นโดยยึดเกณฑ์ของภาระงานรวมถึงคะแนนประเมินของนิสิตในรายวิชานั้นในช่วงที่ผ่านมาเพื่อใช้ประกอบในการจัดตารางสอนโดยอาจารย์ผู้สอนในรายวิชานั้นจะทำการออกแบบแผนการสอนโดยยึดหลัก DIF ตามที่ความเหมาะสมของรายวิชาเหล่านั้นรวมถึงการกำหนด Course Learning Outcome เพื่อเป็นกรอบในการวางแผนการสอนรูปแบบการสอนกรณีศึกษาปัญหาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์รวมถึงวิธีการประเมินผลเกณฑ์การให้คะแนนและระดับคะแนน เพื่อให้นิสิตผู้เรียนได้ทำความเข้าใจถึงเป้าหมายของรายวิชาที่จะมีผลต่อการเลือกเรียนและความรู้ทักษะและความสามารถที่นิสิตจะได้รับจากรายวิชานั้น โดยอาจารย์จะทำเอกสาร มคอ. 3 เพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนต่อไป
ในระหว่างการเรียนการสอนซึ่งอาจารย์และนิสิตจะร่วมกันทำกิจกรรมในการเรียนเพื่อสร้างความรู้และกระบวนการคิดตามกรอบการเรียนที่ได้วางแผนเอาไว้และเมื่อมีการประเมินผลอาจารย์จะทำการตรวจคะแนนสอบให้นิสิตได้รู้ผลของการเรียนในแต่ละช่วงเวลาของการเรียนเพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอนและให้นิสิตได้รู้ตัวเองเพื่อพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้น เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษาอาจารย์จะทำการตรวจผลคะแนนและรวบรวมคะแนนเพื่อให้เกรดกับนิสิตที่ได้เรียนผ่านพ้นไปแล้วโดยนิสิตสามารถขอดูคะแนนสอบและตรวจสอบข้อมูลของการสอบในแต่ละส่วนได้โดยในช่วงปลายของการเรียนการสอนนิสิตจะทำการประเมินผลการเรียนของอาจารย์ในแต่ละรายวิชาเพื่อที่อาจารย์จะสามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปปรับปรุงการเรียนการสอนในเทอมต่อไป ในขณะเดียวกันคณะกรรมการหลักสูตรเศรษฐศาสตร์จะทำหน้าที่ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ด้วยการตรวจสอบข้อสอบการเรียนการสอนที่ตรงกันกับ DIF หรือไม่เพื่อขอให้อาจารย์ผู้สอนสามารถปรับข้อสอบและการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ DIF
- Diversity
- Integrity
- Flexibility
การประเมินคุณสมบัติของนิสิตก่อนจบเป็นนิสิตเศรษฐศาสตร์บัณฑิต
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์จะใช้การทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตเป็นขั้นตอนก่อนสุดท้ายที่จะพัฒนานิสิตให้ใช้องค์ความรู้และทักษะหลายๆด้านที่ได้เรียนมาตลอดระยะเวลา 3 ปีเพื่อมาทำวิทยานิพนธ์รวมถึงชิ้นงานต่างๆโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันจะมีการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์โดยคณะกรรมการจะมีการให้ความเห็นในการปรับปรุงและเมื่อทำวิทยานิพนธ์เสร็จในแต่ละเทอมจะมีการสอบปกป้องวิทยานิพนธ์โดยคณะกรรมการชุดเดียวกันเพื่อให้มั่นใจได้ว่านิสิตมีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาการสังเคราะห์ข้อมูลการเขียนการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาผลของการวิจัยแลการสรุปด้วยความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ตามที่นิสิตได้เรียนรู้มาตลอดระยะเวลา 3 ปี กลุ่มทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตจะมี 2 คนทำวิทยานิพนธ์ 1 หัวเรื่องและอาจารย์ 1 ท่านจะรับเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 2 – 3 กลุ่มเพื่อให้ทั่วถึงและเหมาะสมกับการพัฒนาคุณสมบัตินิสิตขั้นสุดท้าย ดังนั้นในการใช้วิทยานิพนธ์นิสิตจะมุ่งใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์พื้นฐานและเศรษฐศาสตร์เฉพาะทางในการวิเคราะห์ปัญหาแก้ไขปัญหาด้วยข้อมูลและเครื่องมืออีกทั้งจะยังใช้ทักษะด้านภาษาอังกฤษทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ทักษะการนำเสนอด้วยวาจาก ทักษะการเขียน และทักษะการตอบปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากนั้นหลักสูตรเศรษฐศาสตร์จะยังให้นิสิตได้ไปสหกิจศึกษากับผุ้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นระยะเวลา 4 เดือนเพื่อให้นิสิตได้มีการปรับตัวเองเข้าสู่สังคมแห่งการทำงานที่เสมือนจริงมากยิ่งขึ้นและจะเป็นการตอกย้ำทักษะและการประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนมาในการทำงานจริงมากยิ่งขึ้นและภาควิชาจะได้รับผลการประเมินนิสิตจากผู้ดูแลนิสิตในการไปสหกิจศึกษาเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรมเพื่อพัฒนานิสิตต่อไป นิสิตจะมีการสอบภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยรวมถึงการสอบทักษะคอมพิวเตอร์ MS Office ให้ผ่านเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยก่อนเรียนจบ
การประเมินคุณสมบัติของนิสิตก่อนจบเป็นนิสิตเศรษฐศาสตร์บัณฑิต
ภาควิชาเศรษฐศาสตร์จะใช้การทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตเป็นขั้นตอนก่อนสุดท้ายที่จะพัฒนานิสิตให้ใช้องค์ความรู้และทักษะหลายๆด้านที่ได้เรียนมาตลอดระยะเวลา 3 ปีเพื่อมาทำวิทยานิพนธ์รวมถึงชิ้นงานต่างๆโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันจะมีการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์โดยคณะกรรมการจะมีการให้ความเห็นในการปรับปรุงและเมื่อทำวิทยานิพนธ์เสร็จในแต่ละเทอมจะมีการสอบปกป้องวิทยานิพนธ์โดยคณะกรรมการชุดเดียวกันเพื่อให้มั่นใจได้ว่านิสิตมีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาการสังเคราะห์ข้อมูลการเขียนการวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหาผลของการวิจัยแลการสรุปด้วยความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ตามที่นิสิตได้เรียนรู้มาตลอดระยะเวลา 3 ปี
กลุ่มทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตจะมี 2 คนทำวิทยานิพนธ์ 1 หัวเรื่องและอาจารย์ 1 ท่านจะรับเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 2 – 3 กลุ่มเพื่อให้ทั่วถึงและเหมาะสมกับการพัฒนาคุณสมบัตินิสิตขั้นสุดท้าย ดังนั้นในการใช้วิทยานิพนธ์นิสิตจะมุ่งใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์พื้นฐานและเศรษฐศาสตร์เฉพาะทางในการวิเคราะห์ปัญหาแก้ไขปัญหาด้วยข้อมูลและเครื่องมืออีกทั้งจะยังใช้ทักษะด้านภาษาอังกฤษทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ทักษะการนำเสนอด้วยวาจาก ทักษะการเขียน และทักษะการตอบปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
นอกเหนือจากนั้นหลักสูตรเศรษฐศาสตร์จะยังให้นิสิตได้ไปสหกิจศึกษากับผุ้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นระยะเวลา 4 เดือนเพื่อให้นิสิตได้มีการปรับตัวเองเข้าสู่สังคมแห่งการทำงานที่เสมือนจริงมากยิ่งขึ้นและจะเป็นการตอกย้ำทักษะและการประยุกต์ความรู้ที่ได้เรียนมาในการทำงานจริงมากยิ่งขึ้นและภาควิชาจะได้รับผลการประเมินนิสิตจากผู้ดูแลนิสิตในการไปสหกิจศึกษาเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรมเพื่อพัฒนานิสิตต่อไป นิสิตจะมีการสอบภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยรวมถึงการสอบทักษะคอมพิวเตอร์ MS Office ให้ผ่านเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยก่อนเรียนจบ
Let’s Learn Together!
สมัครรับข้อมูลการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร