″แนวทางการพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร”
สามารถในการประยุกต์ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาของธุรกิจและเศรษฐกิจ รวมถึงการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ในระดับมืออาชีพ″
หลักสูตรเศรษฐศาสตร์จึงได้ทำการสำรวจความต้องการของภาคธุรกิจ ด้วยการสัมภาษณ์ทั้งผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ โรงงานผลิตสินค้า และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เพื่อนำเอาข้อมูลที่ได้รับมาวางกรอบการปรับปรุงหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ ให้มีเอกลักษณ์ของความเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ที่ต้องสามารถใช้ทฤษฎีและการวิเคราะห์ข้อมูล ในการทำงานโดยยึดหลักประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
อีกทั้งนำเอาเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร เพื่อนำมาวางแผนการออกแบบรายวิชา เนื้อหาในการเรียนการสอน กิจกรรมเสริมในหลักสูตร และหลักสูตรจะทำการสำรวจความเห็นของผู้ใช้บัณฑิตเศรษฐศาสตร์ อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุง เพิ่มเนื้อหาและเพิ่มรายวิชาเลือกเอกให้มีความทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
ในการสำรวจความเห็นของศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน เพื่อตรวจสอบความทันสมัยของเนื้อหารายวิชาต่อการทำงาน ลำดับการเรียนรู้ และการกระตุ้นให้นิสิตอยากหาความรู้ต่อยอดจากความรู้ที่เรียนในห้องเรียนต่อเนื่อง ทำให้หลักสูตรได้ความต่อเนื่องและลื่นไหลในการเรียนการสอน และกิจกรรมเพื่อสร้างบัณฑิตเศรษฐศาตร์ปรัชญาการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง 2561 จึงได้มุ่งเน้นให้นิสิตมีกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าใจทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ สถิติและเศรษฐมิติในการประมวลผลข้อมูล เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของอาชีพ ภายใต้ Technology Disruption ในปัจจุบัน
บัณฑิตผู้จบการศึกษาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนเรศวร จะมีคุณลักษณะดังนี้
Diversity มีความรู้พื้นฐานทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และสามารถใช้ประยุกต์ในการทำงานหลากหลายด้าน ที่ต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ อาทิ ด้านการตลาด การผลิต การบริหารงานบุคคล การเงิน การลงทุน งานภาครัฐและพัฒนา เป็นต้น
Integrity เป็นผู้ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติ ก่อนประโยชน์ส่วนตน เข้าใจถึงผลกระทบจากการดำเนินนโยบายหรือทำธุรกิจ ที่จะส่งผลต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม
Flexibility มีความสามารถในการเรียนรู้ต่อเนื่องและรู้รอบในศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อการปรับตัว อีกทั้งสามารถปรับการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยจะมีทักษะใช้เครื่องมือด้านข้อมูล โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงแบบจำลองทางคณิตเศรษฐศาสตร์