อบรม Microsoft Excel

อบรม Microsoft Excel

เมื่อวันที่  1 – 2 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ จัดโครงการพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ด้วย Microsoft Excel ให้แก่นิสิตเศรษฐศาสตร์ชั้นปีที่ 2 โดยได้รับเกียรติจาก ดร. สรพงค์ สุขเกษม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จากกองสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้ให้ความรู้

อนึ่ง โครงการพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์ด้วย Microsoft Excel เป็นโครงการที่ภาควิชาเศรษฐศาสตร์จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้นิสิตเศรษฐศาสตร์มีพื้นฐานการงาน Microsoft Excel ซึ่งทำให้นำไปใช้เรียนในรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรที่ต้องใช้ทักษะ Excel ในระดับกลาง – สูง ต่อไป

Refresher Course

Refresher Course

วันพฤหัสบดี ที่ 22 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์จัดโครงการ Refresher Course ให้กับนิสิตเศรษฐศาสตร์ชั้นปีที่ 1 เพื่อปรับพื้นฐานและทบทวนความรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อนุพันธ์ เนตยานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้สอน

อนึ่ง Refresher Course เป็นโครงการที่ภาควิชาจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีการศึกษา เพื่อปรับพื้นฐานรวมไปถึงทบทวนความรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนเศรษฐศาสตร์ ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1

สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938

ปฐมนิเทศนิสิตใหม่ และประชุมผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2566

ปฐมนิเทศนิสิตใหม่ และประชุมผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2566

เมื่อวันพุธ ที่ 21 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ จัดโครงการปฐมนิเทศนิสิตใหม่และประชุมผู้ปกครอง เพื่อให้ข้อมูลการเรียนการสอน กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ รวมไปถึงตอบข้อซักถามแก่นิสิตชั้นปีที่ 1 และผู้ปกครอง

นอกจากนี้ ยังได้แนะนำทีมอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 5 คน ได้แก่ 1) ดร. ณัฐวุฒิ คงลำพันธุ์, 2) ดร. ครรชิต สุขนาค, 3) ดร. ภัคจิรา นักบรรเลง, 4) ผศ. ดร. อรรฆยา เซ็นเครือ และ 5) ดร. กฤษฎา วัฒนเสาวลักษณ์ โดยจะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการเรียน ปลดล็อกการลงทะเบียน และเซ็นเอกสารราชการให้กับนิสิต ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก

กิจกรรมครบรอบ 25 ปี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

กิจกรรมครบรอบ 25 ปี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมครบรอบ 25 ปี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

25 ปี เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 4 กุมภาพันธ์ 2566

.

ในปีนี้ ได้รับเกียรติจากพี่ที่ประกอบธุรกิจซึ่งมีทั้ง พี่นิกกี้ คชาญพัษน์ รุ่น 10 (ธุรกิจรับนำเข้าสินค้าจากจีน และตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ตกแต่งรถมอเตอร์ไชค์) พี่มะปราง รัตนนันท์ รุ่น 12 (ธุรกิจร้านขายแก๊ส รูปแบบใหม่) พี่อ้อ สกุลทิพย์ รุ่น 13 (โรงงานผลิตครีม สบู่ และช่วยเจ้าของ Brand ในการทำตลาด online)

.

ซึ่งพี่ทั้ง 3 คน เดิมทำงานธนาคารสายวิเคราะห์สินเชื่อ โบรกเกอร์และกองทุนรวม มาก่อน พี่นิกกี้ บอกว่าเห็นรายได้ตัวเองแล้วไม่คิดว่าจะเลี้ยงครอบครัวได้ อยากได้เงินเพิ่มขึ้นจึงเริ่มจากการสั่งของมาขายทีละชิ้น สองชิ้น จนได้รับความไว้วางใจจาก เจ้าของโรงงานที่จีนซึ่งใช้ระบบ กงสี (ความไว้ใจ) ในการทำธุรกิจ สาบานเป็นพี่น้องกัน ทำให้ทะลุจุดลำบากด้านเงินทุนออกไปได้ สามารถนำสินค้ามาขายก่อนแล้วค่อยชำระค่าสินค้าในภายหลังได้ ทำให้พัฒนามาจนกระทั่งปัจจุบันเริ่มเป็นผู้จัดหาสินค้าในจีน ทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีนโดยตรง พี่นิกกี้ใช้แนวคิดในการบริหารต้นทุนให้ต่ำ เพื่อสามารถแข่งขันได้

.

ในขณะที่พี่มะปราง ได้แต่งงานและลาออกจากการเป็นพนักงานประจำ ก่อนจะมาปรับปรุงธุรกิจของสามีในการส่งคนไปเรียนต่อต่างประเทศ จนกระทั่งโควิดเกิดขึ้น จึงมองหาธุรกิจใหม่และพบ pain point ในธุรกิจขายแก๊สหุงต้ม ที่เป็นธุรกิจจำเป็นแต่มีข้อจำกัดเยอะมากมายจากนักธุรกิจรุ่นเก่า ทำให้พี่มะปรางเข้ามาทำตลาด ด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบ หาข้อมูลจากทักษะที่เคยเรียนและทำวิจัยมาก่อน ทำให้มีรายชื่อร้านค้า และลูกค้า จึงได้บุกทำตลาด และสามารถขยายธุรกิจได้ครอบคลุมหน่วยราชการและหน่วยงานต่างๆ รวมถึงธุรกิจเอกชนในจังหวัดพิษณุโลก

.

และพี่อ้อ ซึ่งเคยทำงานประจำและทำการขายครีมเป็นรายได้เสริม แต่ก็ไม่เห็นทางที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจลาออกมาทำโรงงานผลิตครีม สบู่ และในอนาคตจะเป็นการผลิตอาหารเสริม ให้กับ Influenzer ที่ทำ Brand สินค้าเหล่านี้ โดยพี่อ้อใช้แนวคิดที่เคยได้เรียนมาช่วยลูกค้าในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การเลือกจุดเด่นผลิตภัณฑ์และช่องทางการทำตลาด

.

ในช่วงถัดมา เป็นพี่ที่ทำงานประจำ ได้แก่พี่เอก ประวีณ รุ่น 1 (ผู้จัดการทั่วไป แผนกการตลาด บริษัทนิสสันมอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด) พี่ปั๊ม นรินทร์พงษ์ รุ่น 6 (ผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาบุคลากร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)) และพี่มิ้ม ปรานิสรา รุ่น 12 (หัวหน้างาน CSR บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้เล่าประสบการณ์ การทำงานในองค์กรชั้นนำ การปรับตัวเมื่อมีการย้ายงาน รวมทั้งการเก็บออมเพื่อใช้ยามเกษียณอายุ

.

ทุกประสบการณ์ของรุ่นพี่ที่ถ่ายทอดให้น้องๆ ได้รับรู้ ล้วนแต่เป็นแรงผลักดันให้น้องๆ พัฒนาตนเอง และหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ ได้รับความร่วมมือจากพี่ศิษย์เก่าในการพัฒนาหลักสูตรใหม่ เสมอมา

งานรื่นเริงช่วงเย็นและ Networking ระหว่างพี่ๆ น้องๆ เป็นไปอย่างสนุกสนาน ทุกคนต่างพูดคุย สอบถาม ความสนใจในการเข้าสู่อาชีพอย่างที่รุ่นพี่ ได้ดำเนินการกันมา ต่อคิวรอร้านอาหารไปพร้อม เพลิดเพลินกับเสียงเพลงจากวง Blossom ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ เล่นเกมชิงรางวัล

.

และในช่วงเย็นมีกิจกรรมสานสัมพันธ์น้องพี่ ศิษย์เก่า โดยรุ่นพี่ทยอยกันมาเรื่อยๆ ต่อเนื่อง ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงในชีวิตกับอาจารย์เก่าๆ น้องๆ ศิษย์ปัจจุบัน และเดียวกันก็ได้เจอเพื่อนเก่าที่นานๆ จะได้ออกมาเจอกันในบรรยากาศเดิม ที่เคยเรียน เคยสนุก เคยทำทุกกิจกรรมก่อนออกไปเผชิญกับโลกการทำงาน

kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ .

น้องๆ ซึ่งได้มีการทำงาน เตรียมงานกัน มาหลายสัปดาห์ เพื่อต้อนรับรุ่นพี่ ก็ลุ้นกันว่างานจะดีหรือไม่ และท้ายที่สุดทุกคนก็ทำได้อย่างดี มีเสียงชื่นชมมากมาย

.

รออีก 5 ปีข้างหน้า 30 ปีเศรษฐศาสตร์ เราจะได้พบกันอีกนะ พี่น้องเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก

โครงการแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2563 – 2564

โครงการแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2563 – 2564

ครงการแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2563 – 2564
ณ คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยนเรศวร
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2565
1. ภาพรวมการแข่งขัน

1.1 ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องมีสถานะเป็นนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรีใน ปีการศึกษา 2564

1.2 การแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ระดับปริญญาตรี เป็นการแข่งขันประเภททีม โดยแต่ละทีม

มีสมาชิกได้ไม่เกิน 3 คน โดยแต่ละสถาบันการศึกษาส่งตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหาได้เพียง 1 ทีม

1.3 คำถามที่ใช้ในการแข่งขันจะเป็นคำถามอัตนัย จำนวน 10 ข้อ ข้อละ 10 คะแนน รวมเป็น 100 คะแนน แบ่งเป็นเศรษฐศาสตร์จุลภาค 5 ข้อและ เศรษฐศาสตร์มหภาค 5 ข้อ โดยขอบเขตของเนื้อหาจะไม่เกินขั้นกลาง (intermediate) ของระดับปริญญาตรี โดยจะมีเวลาในการทำข้อสอบข้อละ 5นาที

2. การจัดเตรียมคำถามที่ใช้ในการแข่งขัน

คำถามที่ใช้ในการแข่งขันจะมาจากคณาจารย์ของแต่ละสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยก่อนการแข่งขัน คณาจารย์จากทุกสถาบันที่เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงกติกา และเตรียมความพร้อมคำถามที่ใช้ในการแข่งขัน

3. การสุ่มเลือกคำถาม

ตัวแทนสถาบันเจ้าภาพจะเป็นผู้เริ่มต้นจับฉลากคำถามข้อที่ 1 และตัวแทนจากสถาบันการศึกษาที่เป็น
เจ้าของคำถามข้อที่ 1 จะเป็นผู้จับฉลากคำถามข้อที่ 2 และเจ้าของคำถามข้อที่ 2 จะเป็นผู้จับฉลากข้อถัดไป
กระบวนการจับฉลากจะดำเนินไปเรื่อยๆ จนทุกทีมได้ตอบคำถามครบ 10 ข้อ

หมายเหตุ: หากจับฉลากได้คำถามจากสถาบันการศึกษาใด นักศึกษาจากสถาบันการศึกษานั้นจะไม่ได้ตอบคำถามข้อนั้น โดยนักศึกษาที่เว้นคำถามของสถาบันตนเองไป จะต้องตอบคำถามจากการจับฉลากในช่วงท้ายของการแข่งขัน เพื่อให้นักศึกษาจากทุกสถาบันการศึกษาตอบคำถามครบ 10 ข้อเท่ากัน

4. การเฉลยข้อสอบและการตรวจให้คะแนน

4.1 การเฉลยคำถาม: ตัวแทนสถาบันการศึกษาเจ้าของคำถามจะเป็นผู้เฉลย ภายหลังจากหมดเวลาตอบคำถามในแต่ละข้อ โดยใช้เวลาในการเฉลยไม่เกิน 5 นาที
4.2 การตรวจให้คะแนน: คำถามแต่ละข้อจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยแต่ละข้อจะมีผู้ตรวจให้คะแนนจำนวน 3 ท่านได้แก่ 1) ตัวแทนสถาบันการศึกษาเจ้าของคำถามจำนวน 1 ท่าน และ 2) ตัวแทนจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ อีก 2 ท่าน (ตามการตกลงในการประชุมคำถามในช่วงเช้า) ทั้งนี้การให้คะแนนจะเป็นไปตามเกณฑ์การให้คะแนนของตัวแทนสถาบันเจ้าของคำถาม และคะแนนที่แต่ละทีมจะได้รับ คือค่าเฉลี่ยของคะแนนจากผู้ตรวจทั้ง 3 ท่าน

หมายเหตุ:

– หากข้อใดมีคะแนนมีพิสัยเกิน 5 คะแนน ผู้ตรวจทั้ง 3 ท่านจะร่วมพิจารณาคะแนนใหม่อีกครั้ง

– ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นกับการตอบคำถาม นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันเท่านั้นที่มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ โดยแจ้งทันทีที่เกิดปัญหาต่อทีมงานของสถาบันเจ้าภาพ โดยการตัดสินจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะถือเป็นที่สิ้นสุด

5. เกณฑ์การตัดสินผลการแข่งขัน

5.1 ทีมที่ได้รับคะแนนสูงสุด 5 ลำดับแรกจะได้รับรางวัลและเกียรติบัตร ดังนี้

– รางวัลชนะเลิศ ได้รับรางวัลและเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับรางวัลและเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับรางวัลและเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้รับเกียรติบัตร
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 4 ได้รับเกียรติบัตร

5.2 ในกรณีที่มีทีมที่ได้คะแนนมากที่สุดมากกว่า 1 ทีม ให้ทีมดังกล่าวตอบคำถามเพิ่มจากข้อสอบที่เหลือจากการจับฉลากในรอบปกติ เพื่อหาทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ
5.3 ในกรณีที่ทีมที่ได้คะแนนเท่ากันเป็นลำดับอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลำดับที่ 1 ให้รับรางวัลนั้นๆ ร่วมกัน และข้าม
รางวัลลำดับถัดไป
5.4 ทุกทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะได้รับเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันฯ

6. เนื้อหาสำหรับใช้ในการแข่งขันตอบปัญหาทางเศรษฐศาสตร์

ขอบเขตของเนื้อหาที่ใช้เป็นคำถาม จะไม่เกินขั้นกลาง (intermediate) ของระดับปริญญาตรีแบ่งเป็น

เศรษฐศาสตร์จุลภาค:
1. Basic of Supply and Demand
2. Consumer Choice Theory
3. Producer Behavior
4. Competitive Market
5. Imperfect Market
6. Game Theory
7. General Equilibrium and Economic Efficiency
8. Market Failures

หนังสือที่แนะนำ:

Pindyck, R. S., & Rubinfeld, D. L. (2014). Microeconomics. Pearson Education.
Besanko, D., & Braeutigam, R. (2020). Microeconomics. John Wiley & Sons.

เศรษฐศาสตร์มหภาค:
1. Basic concept of Macroeconomics (National income, Gross Domestic Product,
Macroeconomics variables)
2. Short-run closed economy (IS-LM, AD-AS, macroeconomic policy)
3. Short-run open economy (Mundell-Fleming Model, AD-AS, macroeconomic policy)
4. Long-run analysis (Growth model, macroeconomic policy)

5. Other Extensions in the Short-run (Expectations, Policies, Output, Consumption and Investment)

หนังสือที่แนะนำ:
Mankiw, G.N. (2016). Macroeconomics. New York :Worth Publishers,
Froyen, R.T. (2014). Macroeconomics: Theories and Policies. Pearson Indian Ed.

7. กำหนดการ
8. แผนที่
สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55